วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ความหมายของศัพท์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ Widget , Gadget , RSS , XML , Mashup , Artificial Intelligence , Phishing , FTP
ความหมายของศัพท์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ Widget , Gadget , RSS , XML , Mashup , Artificial Intelligence , Phishing , FTP
Widget คือ ชุดคำสั่งโปรแกรมขนาดเล็ก หรือโปรแกรมสำหรับการควบคุมในการทำงานที่สร้างจากโปรแกรมแฟลชหรือจาวาสคลิปต์ ช่วยรองรับการทำงานของอินเตอร์เฟสกับแอพลิเคชั่นหรือระบบปฏิบัติการ Widget ที่พบกันบ่อยๆ เช่น ปุ่ม ไอคอน และแถบเมนู Widget ถูกนำไปติดบนเว็บไซด์ต่างๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์ รวมถึง บล็อค และมือถือ
Gadget คือ เทคโนโลยีขนาดเล็กซึ่งอาจจะเป็นโปรแกรมหรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีใช้งานกันอยู่ในหลายๆด้าน เช่น ส่วนใหญ่จะเป็นด้านความบันเทิง หรือเพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย ตัวย่างเช่น ในหน้าจอของ Window Vista จะมีนาฬิกา ปฏิทิน หรือโน้ตไว้แปะเตือนความจำบน Desktop เหล่านี้เรียกว่า Gadget
Microsoft ได้แบ่ง Gadget ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- Web gadgets คือ โปรแกรมที่ทำงานบนเว็บไซต์ เช่น Live.com หรือ Spaces.Live.com
- Sidebar gadget คือ โปรแกรมที่ทำงานบน Desktop หรือที่วางอยู่ด้านข้างของ Window (Window Sidebar)
- Sideshow gadget คือ อุปกรณ์ที่ทำงานแสดงผลรูปแบบต่างๆได้ เช่น ฝาด้านนอกของ Laptop หรือ panel บนคีบอร์ดและมือถือ
RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndicaion คือ บริการที่อยู่บนระบบอินเทอร์เน็ต จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ โดยสงข่าวหรือข้อมูลใหม่ๆให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มี่การ Update ไม่ต้องเสียเวลาเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา
XML ย่อมาจาก Extensible Markup Language คือภาษาหนึ่งที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล ซึ่งภาษาที่ใช้กำหนดรูปแบบของคำสั่งภาษา HTML หรือที่เรียกว่า Mete Data ซึ่งจะใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของคำสั่ง Markup ต่างๆ ถ้าเปรียบเทียบกับภาษา HTML จะแตกต่างกันที่ HTML ถูกออกแบบมาเพื่อการแสดงผลตัวเล็ก ตัวหนา ตัวเอียง เหมือนที่เคยเห็นในเว็บเพจทั่วไป แต่ภาษา XML นั้นถูกออกแบบมาเพื่อเก็บข้อมูลโดยทั้งข้อมูลและโครงสร้างของข้อมูลนั้นๆไว้ด้วยกัน ส่วนการแสดงผลก็จะใช้ภาษาเฉพาะ ซึ่งก็คือ XSL (Extensible Stylesheet Language)
Mashup คือ การผสมผสานเพื่อสร้าง Application ใหม่ๆ โดยฝ่ายนึงจะเปิด Interface ให้นักพัฒนามาใช้ resource ของตนในการพัฒนา Application ต่อยอดขึ้นไป โดยขณะที่ Provider ต่างๆเริ่มสนใจหันมาสร้าง developer ecosystem ดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นการขยาย Business Area และ Business Model ใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นของ Provider นับเป็นข้อดีและเป็นการส่งเสริมอุสาหกรรมซอฟแวร์ให้ก้าวไปอีกขั้น Application หลายหลายจะถูกผลิตออกมาด้วยอัตราเร่งที่เร็วและสูงกว่าในอดีตมากอย่างเห็นได้ชัด Provider ไม่ต้องเหนื่อยมากในการพัฒนาคิดค้นสิ่งใหม่ๆให้ผู้ใช้ใช้งาน เพราะว่ามีนักพัฒนาอีกมากมายในโลกนี้มาช่วยคิดช่วยทำให้อยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น Google ได้จัดเตรียมแผนที่ Google Maps ไว้ให้ และอนุญาตให้นักพัฒนาซอฟแวร์มาสร้าง Application ต่างๆ โดยอยู่บนพื้นฐานของแผนที่ดังกล่าว เช่น Application ค้นหาร้านค้า โรงพยาบาล ร้านอาหาร ด้วย Google Maps , application ที่เปิดโอกาสให้สามารถสร้างตำแหน่งปัจจุบันและส่งข้อความคุยกันได้
ระบบปัญญาประดิษฐ์ {Artificial Intelligence (AI)} หมายถึงอุปกรณ์ที่ต้องรับคำสั่งเพื่อสามารถทำงานให้ได้อย่างรวดเร็วภายใต้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ หรือหมายถึงการทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้ เหมือนสมองมนุษย์ ซึ่งการทำงานมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการประมวลผลของสมองมนุษย์ ฉะนั้น ความสามารถของคอมพิวเตอร์ทางด้านสติปัญญาและด้านพฤติกรรมจึงมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์
สิ่งสำคัญทางปัญญาประดิษฐ์ มี 2 ประการ คือ
- ความสามารถที่จะเข้าใจภาษาธรรมชาติ
- ความสามารถที่จะให้เหตุผล
Phishing คือ กลลวงที่แยบยลทางอินเทอร์เน็ตซึ่งมักมาในรูปแบบของการปลอมแปลงอีเมล หรือข้อความที่สร้างขึ้นเพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผลข้อมูลทางด้านการเงินหรือข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เช่น หมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขประจำตัวผู้ใช้ (User Name) รหัสผ่าน (Password) เป็นต้น
Phishing สร้างกลลวงอย่างไร
Phishing สามารถทำได้โดยการส่งอีเมล หรือข้อความที่อ้างว่ามาจากองค์กรต่างๆ ที่ท่านติดต่อด้วย เช่น บริษัทที่ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตหรือธนาคาร โดยส่งข้อความเพื่อขอให้ท่าน "อัพเดท" หรือ "ยืนยัน" ข้อมูลหรือบัญชีของท่าน หากท่านไม่ตอบกลับอีเมลดังกล่าว อาจก่อให้เกิดผลเสียตามมมา
เพื่อให้อีเมลปลอมที่ส่งมานั้นดูสมจริง ผู้ส่งอีเมลนี้จะส่ง Hyperlink ที่อีเมลเพื่อให้เหมือนกับ URL ขององค์กรนั้นๆจริง ซึ่งแท้ที่จริงแล้วมันคือเว็บไซต์ปลอมแปลงหรือหน้าต่างที่ส้รางขึ้นมาที่เราเรียกว่า "เว็บไซต์ปลอมแปลง" (Spoofed Website)
เมื่อท่านเข้าสู่เว็บไซต์ปลอมเหล่านี้ ท่านอาจถูกล่อลวงให้กรอกข้อมูลส่วนตัวที่จะถูกส่งไปยังผู้สร้างเว็บไซต์ เพื่อนำข้อมูลของท่านไปใช้ เช่น ซื้อสินค้า สมัครบัตรเครดิต หรือทำสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ ในนามของท่าน
เพื่อให้อีเมลปลอมที่ส่งมานั้นดูสมจริง ผู้ส่งอีเมลนี้จะส่ง Hyperlink ที่อีเมลเพื่อให้เหมือนกับ URL ขององค์กรนั้นๆจริง ซึ่งแท้ที่จริงแล้วมันคือเว็บไซต์ปลอมแปลงหรือหน้าต่างที่ส้รางขึ้นมาที่เราเรียกว่า "เว็บไซต์ปลอมแปลง" (Spoofed Website)
เมื่อท่านเข้าสู่เว็บไซต์ปลอมเหล่านี้ ท่านอาจถูกล่อลวงให้กรอกข้อมูลส่วนตัวที่จะถูกส่งไปยังผู้สร้างเว็บไซต์ เพื่อนำข้อมูลของท่านไปใช้ เช่น ซื้อสินค้า สมัครบัตรเครดิต หรือทำสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ ในนามของท่าน
ที่มาของ Phishing
นางสาวปัทมา ไทยรักษา
FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือโปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำไปใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่ายเรียกว่าโฮสติง (hosting) หรือเซิฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ต การใช้ FTP ที่บ่อยที่สุด เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้นจะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และรหัสผู้เข้าใช้ (Password) ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Filezilla , CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น
FTP แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
- FTP server เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลเอนต์เข้าไป
- FTP client เป็นโปแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ user ทั่วๆไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP server และทำการอัพโหลด , ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์ , ลบไฟล์ และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็สามารถทำได้เช่นกัน
นางสาวปัทมา ไทยรักษา
รหัส 56131109087 หมู่เรียน 02
วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557
E1 , E2 คืออะไร
E1 , E2
E1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (กระบวนการในที่นี้ คือ กระบวนการ การจัดการเรียนการสอนระหว่างเรียนทั้งหมด โดยคิดจากคะแนนหลังเรียนของแต่ละหน่วย บท ของแต่ละเรื่อง) เช่น ตัวเลข 80 หมายถึง ผู้เรียนทั้งหมดได้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบย่อยได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ซึ่งหาได้จากสูตร ผลรวมของคะแนน หารด้วยจำนวนผู้เรียนทั้งหมด คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ผมรวมของคะแนนเต็มของแบบทดสอบทุกชุด ก็จะได้ E1
E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (ผลลัพธ์ในที่นี้หมายถึง หลังจากผู้เรียน เรียนจบกระบวนการ โดยคิดคะแนนจากหลังเรียน ได้มาจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์นั่นเองครับ) เช่น ตัวเลข 80 หมายถึง ผู้เรียนทั้งหมดได้ทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 หาได้จากสูตร ผลรวมของคะแนน หารด้วย จำนวนผู้เรียนทั้งหมด คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ผมรวมของคะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน ก็จะได้ E2
E1 คือ ร้อยละของคะแนนระหว่างใช้นวัตกรรม อาจจะเป็นคะแนน แบบฝึกหัก คะแนนทดสอบย่อย คะแนนรายงาน คะแนนจัดบอร์ด E2 คือ ร้อยละของคะแนนสอบหลังเรียน หลังจากใช้นวัตกรรมทั้งหมดแล้ว อาจจะเป็น คะแนนสอบปลายภาค คะแนนชิ้นงานที่สำเร็จแล้วก็ได้
ค่า E1/E2 จึงมีความสำคัญ และยิ่งถ้าตัวเลขเข้าใกล้ 100 มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งถือว่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นเกณฑ์ที่ใช้พิจารณารับรองประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอน จะเห็นได้ว่า การคำนวณหาประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน เป็นผลรวมของการคุณภาพและปริมาณ
ที่มา URL:: http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=603 และ http://www.kroobannok.com/8099
E1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (กระบวนการในที่นี้ คือ กระบวนการ การจัดการเรียนการสอนระหว่างเรียนทั้งหมด โดยคิดจากคะแนนหลังเรียนของแต่ละหน่วย บท ของแต่ละเรื่อง) เช่น ตัวเลข 80 หมายถึง ผู้เรียนทั้งหมดได้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบย่อยได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ซึ่งหาได้จากสูตร ผลรวมของคะแนน หารด้วยจำนวนผู้เรียนทั้งหมด คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ผมรวมของคะแนนเต็มของแบบทดสอบทุกชุด ก็จะได้ E1
E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (ผลลัพธ์ในที่นี้หมายถึง หลังจากผู้เรียน เรียนจบกระบวนการ โดยคิดคะแนนจากหลังเรียน ได้มาจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์นั่นเองครับ) เช่น ตัวเลข 80 หมายถึง ผู้เรียนทั้งหมดได้ทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 หาได้จากสูตร ผลรวมของคะแนน หารด้วย จำนวนผู้เรียนทั้งหมด คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ผมรวมของคะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน ก็จะได้ E2
สูตร E1/E2 คือ อะไร
E1 คือ ร้อยละของคะแนนระหว่างใช้นวัตกรรม อาจจะเป็นคะแนน แบบฝึกหัก คะแนนทดสอบย่อย คะแนนรายงาน คะแนนจัดบอร์ด E2 คือ ร้อยละของคะแนนสอบหลังเรียน หลังจากใช้นวัตกรรมทั้งหมดแล้ว อาจจะเป็น คะแนนสอบปลายภาค คะแนนชิ้นงานที่สำเร็จแล้วก็ได้
ค่า E1/E2 จึงมีความสำคัญ และยิ่งถ้าตัวเลขเข้าใกล้ 100 มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งถือว่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นเกณฑ์ที่ใช้พิจารณารับรองประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอน จะเห็นได้ว่า การคำนวณหาประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน เป็นผลรวมของการคุณภาพและปริมาณ
ที่มา URL:: http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=603 และ http://www.kroobannok.com/8099
T-test คืออะไร
T-test
การทดสอบที (t-test)
เป็นเทคนิคการทดสอบสมมติฐานชนิดหนึ่งที่นักวิจัยนิยมใช้การทดสอบ โดยวิธีการนี้ใช้ในกรณีข้อมูลมีจำนวนน้อย (n<30) ผู้ที่ค้นพบการแจกแจงของ t มีชื่อว่า W.S.Gosset เขียนผลงานชิ้นนี้ออกเผยแพร่โดยใช้นามปากกาว่า “student” ให้ความรู้ใหม่ว่า ถ้าข้อมูลมีจำนวนน้อย การแจกแจงจะไม่เป็นโค้งปกติตามทฤษฎี ต่อมาการแจกแจงใหม่นี้มีชื่อว่า Student t-distribution และเรียกกันเวลาใช้ทดสอบโดยคุณสมบัติการแจกแจงนี้ว่า t-test(ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ,2540, หน้า 240) สถิติทดสอบ t ใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้ได้กับกรณีที่มีประชากรหนึ่งกลุ่มและสองกลุ่ม
(อรุณี อ่อนสวัสดิ์, 2551 หน้า 185)
การใช้ t-test แบบ Independent
เป็นสถิติที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ( )ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน ข้อมูลที่รวบรวมได้อยู่ในระดับ อันตรภาคหรืออัตราส่วน ใช้สถิติการทดสอบค่า t มีชื่อเฉพาะว่า t-test for Independent Samples สถิติตัวนี้ใช้มากทั้งในการวิจัยเชิงเปรียบเทียบและการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งมี 2 กรณี
(ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2549, หน้า 86)
การใช้ t- test แบบ dependent
เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย( )ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน และกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ได้แก่ สถิติการทดสอบค่า t มีชื่อเฉพาะว่า t-test for dependent Samples ซึ่งมักพบในการวิจัยเชิงทดลองที่ต้องการเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนทดลองกับหลังทดลองหรือเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ได้จากการจับคู่
(ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2549, หน้า 87)
วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557
LMS & CMS
LMS หรือ Learning Management System
LMS คือ ระบบจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย มีเครื่องมือและส่วนประกอบที่สำคัญ สำหรับผู้สอน ผู้เรียนและผู้ดูแลระบบ ได้แก่ ระบบจัดการรายวิชา ระบบการจัดการสร้างเนื้อหา ระบบบริหารจัดการผู้เรียน ระบบส่วนการจัดการข้อมูลบทเรียน และระบบเครื่องมือช่วยจัดการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์และจัดกระบวนการเรียนรู้
ตัวอย่าง
เป็น LMS ชนิด Moodle ซึ่งเป็นเว็บไซต์การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
CMS หรือ Content Management System
CMS คือ ระบบที่นำมาช่วยในการสร้างและบริหารเว็บไซต์แบบสำเร็จรูปโดยในการใช้งานนั้น ผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถสร้างเว็บไซต์ได้
ตัวอย่าง
เป็น CMS ชนิด Blogger ซึ่งเป็นเว็บไซต์ความรู้เกี่ยวกับภาษาจีน
วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ประวัติ
ชื่อ: นางสาวปัทมา นามสกุล: ไทยรักษา
รหัส: ๕๖๑๓๑๑๐๙๐๘๗
ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่๒
คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)